วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์


ซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์ (อังกฤษ: software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง  หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ





ประเภทของซอฟต์แวร์ 

การแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็นหลายแบบ เช่น

1 การแบ่งเชิงเทคนิค อาจแบ่งซอฟต์แวร์เป็น 3 ประเภทหลักคือ

1.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System/Infrastructure software)  
หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ช่วยให้ Hardware สามารถทำงานร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างราบลื่น ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ระบบเช่น ระบบปฏิบัติการ (Operating system) และซอฟต์แวร์ขับเคลื่อนอุปกรณ์ (Drivers) เป็นต้น




Windows 8 หนึ่งในซอฟต์แวร์ระบบประเภท Operating system





1.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่พัฒนาขึ้นมาทั้งเพื่อการใช้งานเฉพาะด้านและใช้งานแบบทั่วไป การใช้งานเฉพาะด้าน เช่น ใช้ควบคุมการทำงานในหน่วยงาน ใช้ควบคุมอุปกรณ์และเครื่องจักร ซอฟต์แวร์คำนวณเงินเดือน ทำบัญชี คุมสต็อคสินค้า ควบคุมการจราจร การพยากรณ์อากาศ และ ซอฟต์แวร์วางแผนงานประเภทต่างๆ เป็นต้น ส่วนซอฟท์แวร์สำหรับการใช้งานแบบทั่วไป เช่น ซอฟต์แวร์ด้านงานเอกสาร การนำเสนองาน ซอฟต์แวร์รับ-ส่งอีเมล์ ท่องอินเตอร์เน็ต และซอฟต์แวร์ด้านมัลติมีเดียต่างๆ เป็นต้น




 PowerPoint หนึ่งใน Application Software ประเภทการนำเสนองาน






1.3 ซอฟต์แวร์เครื่องมือสำหรับคอมพิวเตอร์ (Tools/Utilities software)
ซอฟต์แวร์กลุ่ม Tools และ Utilities คือซอฟต์แวร์เครื่องมือที่ใช้สำหรับการปรับแต่ง ตรวจสอบ และสนันสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์ เช่น ซอฟต์แวร์ต่อต้านไวรัส (Antivirus software) ซอฟต์แวร์จัดเรียงข้อมูลใน Hard disk ซอฟต์แวร์ตรวจจับ Spyware, Adware, Trojan ซอฟต์แวร์ตรวจสอบเนื้อที่จัดเก็บข้อมูล และซอฟต์แวร์คอมไพเลอร์/อินเตอร์พรีเตอร์/ดีบักเกอร์ เป็นต้น
Antivirus software



 

                                      Antivirus software หนึ่งในซอฟต์แวร์ประเภท Tools/Utilities






 2.การแบ่งตามรูปแบบการส่งมอบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ  

 

2.1ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package software) ซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ โดยคิดค่าบริการเป็น transaction หรือ license



 2.2 ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเงินเดือน (Outsources software development) เป็นการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานเฉพาะกับงานประเภทต่าง ๆ เฉพาะกิจกรรมไป ส่วนใหญ่ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นี้จะเป็นของผู้ที่ว่าจ้างให้พัฒนาขึ้น


















 3.การแบ่งตามประเภทของการนำไปใช้งานหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ 

 

    ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการทั่วไป (Enterprise software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานเพื่อแก้ปัญหา/จัดการทรัพยากรของ บุคคล/องค์กร เช่น ซอฟต์แวร์บัญชี ซอฟต์แวร์จัดทำเอกสาร เป็นต้น
   




ซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (Mobile applications software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่านระบบปฏิบัติการพิเศษบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมทางธุรกิจ (Business applications) เช่น Mobile banking, Mobile payment, GPS on Mobile, Mobile applications for business process management และ(2) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการและบันเทิง (Entertainment applications) ซึ่งรวมเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
    





ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded System Software) เป็นซอฟต์แวร์ซึ่งฝังอยู่ไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ระบบ GPRS ระบบทำความเย็นอัจริยะ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น
















































































































































































































































วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เคส


CPU/Processor

                The Central Processing Unit หรือ CPU ในบางครั้งอาจเรียกว่า “หน่วยประมวลผล (Processor)” เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ภายในคอมพิวเตอร์เคส ตรงบริเวณเมนบอร์ด ส่วนนี้มักเปรียบเสมือนกับ “สมอง” ของคอมพิวเตอร์ หน้าที่ของมันคือรับคำสั่งต่างๆจากผู้ใช้งาน ไม่ว่าเราจะทำการพิมพ์อะไรลงบนคีย์บอร์ดหรอคลิกเมาส์ไปที่อะไร คำสั่งเหล่านั้นจะถูกนำมายังหน่วยประมวลผลกลางนี้ทั้งสิ้น




        CPU โดยทั่วไปแล้วมีขนาดประมาณ 2 ตารางนิ้ว ทำขึ้นจากเซรามิคและซิลิโคนชิพที่อยู่ภายใน โดยชิพที่ว่านี้จะมีขนาดประมาณหัวแม่มือเท่านั้น CPU จะถูกใส่ไว้ในตำแหน่งของช่องสำหรับ CPU ในเมนบอร์ด โดยจะมีสิ่งที่เรียกว่า “พัดลม” ของซีพียูปิดไว้ด้านบนเพื่อทำหน้าที่คลายความร้อนให้กับ CPU ในระหว่างที่มันกำลังทำงานอยู่

                ความเร็วของหน่วยประมวลผลจะวัดออกมาเป็นค่าของ “เมกาเฮิร์ตซ์ (MHz)” หรือ “ล้านคำสั่งต่อวินาที” และ “กิกะเฮิร์ตซ์ (GHz)” หรือ “พันล้านคำสั่งต่อวินาที” หน่วยประมวลผลที่มีความเร็วสูงจะช่วยให้สามารถทำงานสำเร็จได้เร็วมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับหน่วยประมวลผลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

                ปัจจุบันนี้มี CPU สำหรับใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์มากมายหลายรูปแบบ แต่ที่รู้จักและนิยมมากที่สุดก็คือIntel กับ AMD





Mainboard

                เมนบอร์ดคือแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์นั่นเอง มันมีลักษณะเป็นแผ่นกว้างโดยประกอบไปด้วย CPUหน่วยความจำ ตัวเชื่อมต่อสำหรับฮาร์ดดิสก์และไดรฟ์อื่นๆ การ์ดเสียงและการ์ดจอ อีกทั้งยังเป็นตำแหน่งของพอร์ตต่างๆที่เชื่อมต่อกันอยู่ทั้งหมด เมนบอร์ดจะทำการเชื่อมต่อส่วนภายในต่างๆของคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันทั้งหมด










Power Supply Unit
                ตัวจ่ายพลังงานนี้จะทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงกระแสไฟจากแบบทั่วไปเป็นกระแสไฟแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถใช้ในการทำงาน ตัวจ่ายพลังงานจะทำการส่งกระแสไฟผ่านไปตามสายไฟเล็กๆไปยังเมนบอร์ดและส่วนอื่นๆของคอมพิวเตอร์










RAM (Random Access Memory)
                RAM เป็นหน่วยความจำระยะสั้นสำหรับคอมพิวเตอร์ของเรา เมื่อใดก็ตามที่คอมพิวเตอร์ของเราทำการประมวลผลคำนวณอะไรใดๆ มันจะใช้สิ่งที่เรียกว่า RAM ในการจัดเก็บกระบวนการต่างๆในระหว่างการกระทำนั้นๆ






                หน่วยความจำระยะสั้นนี้จะหายไปเมื่อเราทำการปิดคอมพิวเตอร์ของเราลง หากว่าเรากำลังทำงานอยู่กับไฟล์เอกสาร เราจำเป็นที่จะต้องทำการบันทึกไฟล์งานนั้นๆไว้เพื่อป้องกันการสูญหาย เมื่อเราทำการเซฟไฟล์ ไฟล์ที่ได้รับการบันทึกนั้นจะถูกจัดเก็บไว้ภายใน “ฮาร์ดดิสก์” ซึ่งเป็นหน่วยความจำระยะยาว

                RAM จะมีการแสดงปริมาณแบบ เมกาไบท์ (MB) หรือ กิกะไบท์ (GB) ยิ่งเรามี RAM ติดตั้งอยู่ในตัวเครื่องมากเท่าใด คอมพิวเตอร์ของเราก็ยิ่งประมวลคำสั่งได้หลายคำสั่งในคราวเดียวมากขึ้น หากว่าเรามี RAM ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของคอมพิวเตอร์ เราสามารถสังเกตได้จากการเปิดโปรแกรมหลายๆโปรแกรมในเวลาเดียวกัน เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรามักจะทำงานไม่ราบรื่นดีเท่าที่ควร ดังนั้น ผู้คนส่วนมักจึงมักนิยมเพิ่ม RAM เข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน







Expansion Cards
            คอมพิวเตอร์โดยทั่วไปแล้วมักจะมีช่องขยายอยู่ภายในเมนบอร์ดที่ช่วยให้เราสามารถเพิ่มการ์ดขยายเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในบางครั้ง การ์ดขยายเหล่านี้มักมีชื่อเรียกหรูๆว่า PCI หรือ Peripheral Component Interconnect โดยทั่วไปแล้ว เราอาจไม่จำเป็นต้องติดตั้ง PCI การ์ดเหล่านี้ให้วุ่นวาย เพราะคอมพิวเตอร์ที่เราทำการซื้อมานั้นจะมาแบบครบครันอยู่แล้ว โดยมีทั้งการ์ดจอ การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค และอื่นๆอีก แต่ถ้าหากว่าเราต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ของเรา เราอาจจะเพิ่มการ์ดขยายเข้าไปได้ตามความต้องการเสมอ







                Video Card – บ้านเราเรียกว่า “การ์ดจอ” ซึ่งการ์ดตัวนี้จะมีผลโดยตรงต่อสิ่งที่จะทำการแสดงบนหน้าจอมอนิเตอร์ของเราในระหว่างที่เรากำลังใช้งานคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะมี GPU ติดตั้งอยู่ภายในเมนบอร์ดอยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งการ์ดจอเพิ่มเข้ามา แต่ถ้าหากว่าเราชอบที่จะเล่นเกมส์ที่เน้นในเรื่องของกราฟฟิตสูงๆ เราสามารถติดตั้งการ์ดจอนี้เพิ่มเติมได้



  




Hard Drive
                ฮาร์ดดิสก์เปรียบเสมือน “ศูนย์กลางข้อมูล” ของคอมพิวเตอร์ มันเป็นที่ที่ซอฟแวร์มากมายถูกติดตั้งไว้ รวมทั้งเป็นที่ที่เราใช้ในการัดเก็บข้อมูลต่างๆของเราไว้ด้วย ฮาร์ดดิสก์เป็นหน่วยความจำระยะยาว นั่นหมายความว่า ข้อมูลที่เราทำการบันทึกไว้ภายในฮาร์ดดิสก์นี้จะไม่มีวันหายไปแม้ว่าเราจะทำการปิดคอมพิวเตอร์ไปแล้วก็ตาม







     เมื่อเราทำการเปิดโปรแกรมหรือไฟล์ใดๆ คอมพิวเตอร์ของเราจะทำการคัดลอกสำเนาของข้อมูลเหล่านั้นไปยังส่วนของ RAM เพื่อทำการประมวลผล และเมื่อเราทำการบันทึกไฟล์อีกครั้ง คอมพิวเตอร์จะทำการส่งไฟล์ที่ทำการบันทึกกลับไปยังฮาร์ดดิสก์อีกครั้งหนึ่ง ความเร็วของฮาร์ดดิสก์ยิ่งมีมากเท่าไหร่ยิ่งส่งผลต่อการทำงานของโปรแกรมและการโหลดโปรแกรมได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น





                Sound Card – “การ์ดเสียง” ที่มีผลต่อสิ่งที่ส่งออกมาจากคอมพิวเตอร์โดยเราจะได้ยินผ่านทางลำโพงหรือเฮดโฟน เมนบอร์ดส่วนใหญ่มีซาวน์การ์ดติดมาด้วยอยู่แล้ว แต่เรายังสามารถปรับเปลี่ยนการ์ดเสียงนี้เพื่อคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นตามความต้องการของเราได้





















































































































อุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับคอมพิวเตอร์


สำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไปแล้วนั้น มันสามารถทำงานได้โดยมีส่วนประกอบพื้นฐาน อย่างเช่น คอมพิวเตอร์เคส หน้าจอมอนิเตอร์ เมาส์ คีย์บอร์ด แต่เรายังสามารถต่ออุปกรณ์อื่นๆสำหรับคอมพิวเตอร์เพิ่มลงไปตรงพอร์ตต่างๆได้อีก อุปกรณ์ต่อพ่วงเหล่านี้จะเรียกว่า “Peripherals” ซึ่งอุปกรณ์ต่อพ่วงนั้นก็มีอยู่มากมายหลายชนิดด้วยกัน










     ปริ้นเตอร์หรือเครื่องพิมพ์  เครื่องพิมพ์นี้มีไว้สำหรับพิมพ์เอกสาร ภาพ หรืออะไรก็ตามที่สามารถสั่งพิมพ์ได้ผ่านทางคอมพิวเตอร์ ปริ้นเตอร์นั้นมีอยู่หลายประเภทหลายรุ่นให้เลือกด้วยกัน เช่น เครื่องพิมพ์หมึก เครื่องพิมพ์เลเซอร์ และเครื่องพิมพ์ภาพถ่าย เรายังสามารถซื้อปริ้นเตอร์แบบครบวงจรได้ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ และเครื่องถ่ายเอกสาร









                สแกนเนอร์  สแกนเนอร์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เราสามารถคัดลอกรูปภาพ เอกสาร และบันทึกมันเข้าสู่คอมพิวเตอร์ของเราในรูปแบบของรูปภาพดิจิตอล สแกนเนอร์รุ่นใหม่นั้นยังสามารถใช้พิมพ์เอกสาร ส่งแฟกซ์ ถ่ายเอกสารได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เรายังสามารถซื้อเอาเฉพาะเครื่องสแกนเนอร์อย่างเดียวก็ได้ 













                สแกนเนอร์  สแกนเนอร์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เราสามารถคัดลอกรูปภาพ เอกสาร และบันทึกมันเข้าสู่คอมพิวเตอร์ของเราในรูปแบบของรูปภาพดิจิตอล สแกนเนอร์รุ่นใหม่นั้นยังสามารถใช้พิมพ์เอกสาร ส่งแฟกซ์ ถ่ายเอกสารได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เรายังสามารถซื้อเอาเฉพาะเครื่องสแกนเนอร์อย่างเดียวก็ได้ 









       ไมโครโฟน – ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงแบบ “อินพุท” หรือก็คือเป็นเครื่องมือที่รับเอาข้อมูลจากผู้ใช้งานเข้าไปสู่คอมพิวเตอร์ เมื่อเราทำการเชื่อมต่อไมโครโฟนเข้ากับคอมพิวเตอร์ เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกเสียงหรือใช้ในการบันทึกการสนทนาในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว คอมพิวเตอร์มักมีไมโครโฟนติดอยู่ภายในอยู่แล้ว






 เว็บ คาเมราหรือเว็บแคม  กล้องเว็บแคมเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึกวิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว หรือรูปภาพ มันยังสามารถใช้ในการส่งวิดีโอขึ้นไปยังอินเตอร์เน็ตแบบวิดีโอสดได้อีกด้วย ช่วยให้เราสามารถพูดคุยกันแบบเห็นหน้ากับผู้อื่นได้จากทั่วทุกมุมโลก กล้องเว็บแคมถูกใช้ในหลายๆจุดประสงค์ด้วยกัน







 จอยสติกหรือเกมคอนโทรลเลอร์  โดยทั่วไปแล้ว เกมที่เราทำการเล่นอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์นี้สามารถควบคุมการเล่นทั้งหมดได้ด้วยเมาส์และคีย์บอร์ด แต่ทว่า เรายังสามารถซื้อเอาอุปกรณ์เสริมสำหรับเล่นเกมมาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมได้ด้วยเพื่อให้เราสามารถเล่นเกมอย่างได้อรรถรสมากขึ้น






     โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่น MP3  เมื่อเราทำการซื้ออุปกรณ์เหล่านี้มาจะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่น MP3 กล้องดิจิตอล ฯลฯ จะมีสายสำหรับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ด้วย USB มาด้วย เราสามารถถ่ายโอนข้อมูลต่างๆจากคอมพิวเตอร์ลงไปสู่หน่วยความจำของอุปกรณ์เหล่านี้ รวมทั้งนำเอาสิ่งที่อยู่ในหน่วยของจำของอุปกรณ์เหล่านี้ลไปสู่คอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นกัน










































Linux


Linux


            Linux (อ่านว่า ลินุกซ์เป็นตระกูลของระบบปฏิบัติการประเภท “Open Source” นั่นหมายความว่าพวกมันสามารถถูกปรับแต่งและแก้ไขโดยผู้ใช้งานใดก็ตามจากทั่วโลก มันแตกต่างไปจากซอฟแวร์ปฏิบัติการอื่นๆ เช่น วินโดว์ที่สามารถถูกปรับแต่งแก้ไขได้เฉพาะบริษัทที่ผลิตเท่านั้น ลินุกซ์ได้เปรียบในเรื่องที่เป็นผลิตภัณฑ์ฟรีและมีหลายรุ่นหลายเวอร์ชั่นให้เราสามารถเลือกใช้งานได้ แต่ละรุ่นก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เวอร์ชั่นที่เป็นที่นิยมของลินุกซ์ คือ Ubuntu, Mint และ Fedora 

                ชื่อ “Linux” ถูกตั้งขึ้นภายหลังจากที่ Linus Torvalds ได้ให้กำเนิด Linux Kernel ขึ้นในปี 1991 มันเป็นชุดคำสั่งของคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบปฏิบัติการนั่นเอง

                จากสถิติพบว่า จำนวนผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Linux นั้น มีอยู่เพียงไม่ถึง 1% จากจำนวนผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการทั้งหมด อย่างไรก็ตาม Linux ยังมีบทบาทสำคัญและถูกใช้งานโดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็นส่วนใหญ่ด้วยความสะดวกรวดเร็วในการจัดการนั่นเอง










Apple Mac OS X









Mac OS X 10.0 Cheetah (รุ่นแรก)

ในปี 2001 ก็ได้ปรากฏ Mac OS X เวอร์ชันเต็มตัวแรก ซึ่งก็คือ Mac OS X 10.0 โดยใช้ชื่อว่า Cheetah โดยในเวอร์ชันแรกนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายมากนักสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป












Mac OS X 10.1, 10.2 และ 10.3

ในปลายปี 2001 ทาง Apple ที่ได้อัพเกรดเป็น Mac OS X 10.1 (Mac OS X Puma) และในเดือนสิงหาคมปี 2002 ได้อัพเกรดอีกครั้งเป็น Mac OS X 10.2 (Mac OS X Jaguar) โดยเพิ่มคณสมบัติเด่นๆ เช่น โปรแกรม iChat สนทนาผ่านระบบออนไลน์ รองรับการเชื่อมต่อกับเครือข่ายของไมโครซอฟท์ ฯลฯ

ในปี 2003 ก็ได้เสนอ Mac OS X 10.3 (Mac OS X Panther ) ที่มาพร้อมคุณสมบัติใหม่ๆ เช่น Expose สลับการทำงานระหว่างโปรแกรม Fast User Switching เปลี่ยนผู้ใช้โดยไม่จำเป็นต้อง Log out ปรับปรุง iChat เป็น iChat AV ที่สามารถสื่อสารแบบมองเห็นหน้าอีกฝ่ายหนึ่งได้ นอกจากนั้นยังมีการเปิดตัวโปรแกรมท่องเว็บอย่าง Safari อีกด้วย







Mac OS X Tiger

ปี 2005 เปิดตัว Mac OS X 10.4 (Mac OS X Tiger) โดยได้แนะนำคุณสมบัติใหม่ เช่น Automator รวมคำสั่งเพื่อทำงานอัตโนมัติได้ Voice Over ที่ออกเสียงคำสั่งต่างๆ Spotlight ค้นหาไฟล์ รวมถึงข้อมูลภายในไฟล์ได้ Dashboard เรียกใช้งานโปรแกรมที่ใช้เป็นประจำจากหน้าจอ Desktop นำเสนอ QuickTime รุ่นใหม่ ปรับปรุงโปรแกรมท่องเว็บเป็น Safari 2.0 เป็นต้น










Mac OS X Leopard


ปี 2007 ทาง Apple ได้เปิดตัว Mac OS X 10.5 (Mac OS X Leopard) ซึ่งถือว่าเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่เพราะได้เพิ่มและปรับปรุงคุณสมบัติใหม่ๆ มากมาย เช่น Cover Flow มุมมองแสดงข้อมูลในสไตล์ที่สวยงาม Quick Look แสดงตัวอย่างภายในไฟล์ Stack ใช้เก็บโฟลเดอร์ที่ใช้งานบ่อๆ Time Machine ใช้แบ็คอัพข้อมูล สามารถกลับไปกู้ข้อมูลเก่าๆได้ง่าย Space ที่สามารรถแบ่งหน้าจอเหมือนว่าได้ต่อหลายจอภาพและอื่นๆกว่า 300 รายการ









Mac OS X Snow Leopard

ปี 2009 ทาง Apple ก็ได้เปิดตัว Mac OS X รุ่น 10.6 หรือ Mac OS X Snow Leopard โดยมีการปรับปรุงในหลายๆด้าน เช่น รองรับระบบ 64 บิต พัฒนาให้รองรับระบบ Multicore (ซีพียูแบบหลายแกน) ตลอดจนนำเสนอโปรแกรม QuickTime X ให้สามารถเล่นไฟล์มัลติมีเดียทั้งบนเครื่องและออนไลน์ได้ดียิ่งขึ้น แนะนำโปรแกรมท่องเว็บรุ่นใหม่อย่าง Safari 4 เป็นต้น







Mac OS X Lion

Mac OS X Lion เปิดตัวกลางปี 2011 มีการเพิ่มเติมความสามารถใหม่ อาทิ การพัฒนาระบบ Multi-Touch ปรับปรุงโปรแกรม Mail, การเปิดแอพแบบ Full Screen, Mission Control รวมการสั่งงานบนหน้าจอ, การเชื่อมต่อไร้สายผ่าน AirDrop, Mac Apps Stores ศูนย์รวมแอพพลิเคชัน , ระบบ Launchpad สำหรับจัดการแอพบนเครื่อง และการจัดเก็บ/กู้คืนไฟล์ด้วย AutoSave และ Versions










Mac OS X Mountain Lion

เป็น Mac OS X รุ่นล่าสุด เปิดตัวกลางปี 2012 โดยความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน คือ ได้เพิ่มคุณสมบัติซึ่งมีรูปแบบการใช้งานที่บน iPad มากยิ่งขึ้น ปรับปรุงให้สามารถใช้งานร่วมกับ iPad และ iPhone ได้ง่ายกว่าเดิมอีกด้วย เช่น สามารถส่งข้อความระหว่างอุปกรณ์ของ Apple ผ่านทาง Message มีระบบการเตือนเมื่อถึงกำหนดด้วย Reminders มี Notification Center ที่สามารถเก็บข้อมูลสำคัญๆ ไว้ในที่แห่งเดียว การทำงานร่วมกับ Facebook และ Twitter ได้ทันทีบนหลายๆ โปรแกรมพร้อมปรับปรุงให้สามารถผนวกข้อมูลกับ iCloud ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น